วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

PAWAT......N..O..K..I..A..*-*


ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว ภาพของนักธุรกิจเช็คอีเมล์ เด็กวัยรุ่น
ฟังเพลง MP3 สาวอินเทรนด์ท่องเว็ปช๊อปปิ้งโดยทุกอย่างนี้ทำได้โดยตรงจากโทร
ศัพท์มือถือ ดูแล้วอาจจะเหมือนภาพของภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง
แต่ในวันนี้กลับเป็นเรื่องที่แสนธรรมดา และสิ่งเหล่านี้พัฒนาขึ้นได้อย่างรวดเร็วส่วน
หนึ่งจากฝีมือของผู้นำทางด้านโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่...โนเกีย

ทุกวันนี้ สโลแกน "Connecting People" ได้เปิด
ประตูสู่โลกของโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายให้แก่โนเกียอย่างแท้จริง ไม่มีใครไม่
รู้จักบริษัทยักษ์ใหญ่เจ้าของสโลแกนนี้กับโทรศัพท์มือถือประทับแบรนด์โนเกียที่หลาย ๆ
คนกำลังถืออยู่ในมือ แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ถึงความเป็นมาของโนเกียนั้นเป็นอย่างไร ก่อน
ที่จะเป็นบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือยอดนิยมที่ติดอันดับขายดีที่สุดของโลกอย่างเช่นในทุก
วันนี้นั้น เชื่อหรือไม่ว่าโนเกียเคยเป็นโรงงานผลิตกระดาษ ยางไม้ และสายเคเบิ้ลมาก่อน
ลองมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์สื่อสารที่คุณถืออยู่ในมือให้มากยิ่งขึ้นกันดีกว่า
กำเนิดโนเกีย

โนเกียไม่ได้เริ่มธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิคเป็นพื้นฐานอย่างแรกของบริษัท
แต่ได้เปิดบันทึกหน้าแรกของประวัติาศาสตร์ด้วยการเป็นผู้ผลิตเยื่อกระดาษ โดยมีวิศวกร
Fredrik Idestam เป็นเจ้าของ

ย้อนเวลากลับไปยังปี ค.ศ. 1865บริษัทโนเกียได้ก่อตั้งขึ้นบนริม
ฝั่งแม่น้ำ Nokia (โนเกีย) แม่น้ำสายใหญ่ในประเทศฟินแลนด์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่
อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ และทะเลสาบนับว่าเป็นดินแดนที่เหมาะสมอย่างมากในการ
ทำธุรกิจเยื่อกระดาษในย่านนี้ และกลายมาเป็นโรงงานผู้ผลิตเยื่อกระดาษรายใหญ่ที่เติบ
โตอย่างรวดเร็ว แต่น่าเสียดายที่ Idestam ยังมีประสบการณ์ไม่เพียงพอใน
การทำงานด้านธุรกิจ จึงจำเป็นต้องหยิบยืมเทคโนโลยีมาจากประเทศเยอรมันในปี
1866 แต่นั่นก็ช่วยทำให้เขาพัฒนาบริษัทขึ้น

ต่อมาในปี 1867 นวัตกรรมที่ Idestam คิดค้นขึ้นก็ได้
ชนะรางวัลเหรียญทองแดง ในงาน Paris Wood Exposition
ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นับแต่วันนั้นมา ชื่อของโนเกียได้กลายมาเป็นที่รู้จัก โนเกีย
จึงได้ฉวยโอกาสนี้ประทับแบรนด์ของเขาบนผลิตภัณฑ์ทุกชนิด สร้างชื่อเสียงได้มากขึ้น
จนกระทั่งเครื่องผลิตกระดาษได้เข้ามามีบทบาทในการผลิตเยื่อไม้ในปี 1880 และ
ได้มาเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของโนเกีย จนเรียกได้ว่าร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์นั้น
คือ กระดาษห่อสีน้ำตาล รวมไปถึงวอลเปเปอร์สี

ต่อมาในปี 1902 Idestam ได้ขยายธุรกิจจากโรงงาน
กระดาษมาสู่ธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจกระดาษที่ทำอยู่มีการใช้
พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างมาก จึงได้ตัดสินใจสร้างโรงผลิตไฟฟ้าขึ้นเองในปี 1903
แต่แล้วในช่วงสงครวมโลกครั้งที่ 1 มรสุมใหญ่ก็ผ่านเข้ามา ธุรกิจส่งออกกระดาษ
ของโนเกียได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจนประสบภาวะาขาดทุนอย่างรุนแรง แต่
ในขณะเดียวกันนั่นเองธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้ากลับเติบโตอย่างรวดเร็วเพราะการ
ใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมากในประเทศฟินแลนด์ ทำให้ช่วยพยุงกิจการด้าน
กระดาษที่ขาดทุนอย่างสูงไว้ได้ในระดับหนึ่ง

และในปี 1918 บริษัท Finnish Rubber Works
(FRW) ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำผลิตภัณฑ์ยางในประเทศฟินแลนด์ และเป็นหนึ่งในลูก
ค้ารายสำคัญของโรงงานผลิตไฟฟ้าของโนเกียได้มาเป็นหุ้นส่วนรายใหญ่ของโนเกีย
หลังจากที่โนเกียไม่สามารถรองรับการขาดทุนของธุรกิจได้ จนต้องตกไปเป็นส่วน
หนึ่งของบริษัท FRW แทน

จากนั้นในปี 1922 บริษัท Cable Works ซึ่งดำเนิน
ธุรกิจด้านสายเคเบิ้ล และสายโทรศัพท์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Nokia group
จากความสนใจของบริษัท FRW แม้จะมีความหลากหลายของธุรกิจที่รวมเข้าด้วยกัน
แต่โนเกียก็ยังคงผลิตสินค้าออกมาทั้ง 3 ประเภท คือกระดาษ ผลิตภัณฑ์ยาง (รองเท้าายาง
ยางรถยนต์) และสายเคเบิ้ล โดยสินค้าทั้งหมดออกจำหน่ายในนามของโนเกีย


ยุคของอิเล็กทรอนิคกับโนเกียได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี 1977 ภายใต้
การดูแลของ Kari Kairamo ประธานบริษัท ซึ่งได้เรียนรู้ประสบการณ์จาก
การทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกา แตกต่างจากรุ่นก่อน หน้านี้ที่จะมีหัวไปทางรัสเซีย
โดยผลิตสินค้าส่งออก คือ สายไปเคเบิ้ล ให้กับ ประเทศรัสเซีย Kairamo นำแนว
คิดแบบตะวันตก และแหวกแนวมาประยุกต์มุ่งเน้นให้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิคให้เข้ากับ
ยุคแห่งพลังงานจนกลายมาเป็นธุรกิจหลักของโนเกียในยุคนี้เป็นต้นมา โดยผลิตโทรทัศน์
และคอมพิวเตอร์ออกมาเบิกทางในตลาด ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับการติดอันดับ
ผู้ผลิตโทรทัศน์รายใหญ่ที่สุด เป็นอันดับที่ 3 ของยุโรปเลยทีเดียว

ก้าวมาสู่ยุคแห่งการสื่อสารไร้สายในการนำของรองประธานกรรมการ
อาวุโส และกรรมการบริหารการเงิน Jorma Ollila ซึ่งดำรงตำแหน่ง
ประธานตั้งแต่ปี 1992 - 1999 และ CEO ของโนเกียในปี 1999 จน
ตราบถึงทุกวันนี้ ด้วยแนวคิดของ Ollila ภายใต้การดูแลของ Kairamo
นั้น โนเกียกับโทรศัพท์มือถือจึงได้ถือกำเนิดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: